สถิติ
เปิดเมื่อ2/02/2018
อัพเดท1/05/2018
ผู้เข้าชม125842
แสดงหน้า122299
เมนู
ปฎิทิน
May 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
   
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 




ปรับเปลี่ยนสถานการณ์ตึงเครียดกับเพื่อนร่วมงานให้ลงตัวได้อย่างไร

อ่าน 170 | ตอบ 0

การทำงาน ถือได้ว่าเป็นสังคมที่มีความสลับซับซ้อนของผู้คนที่มีค่านิยม แรงจูงใจ ความทะเยอทะยาน ลักษณะเฉพาะตัว บุคลิกภาพ และสไตล์การทำงานที่แตกต่างเข้าไว้ด้วยกัน เป็นธรรมดาที่จะมีความคิดไม่ตรงกัน ความผิดพลาดทางการสื่อสาร เกิดขึ้นบ้างในทุกบริษัทครับ นี่ยังไม่รวมถึงปัจจัยอีกหลายอย่างที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง เช่น วัฒนธรรมขององค์กร ทรรศนะคติต่อการทำงาน การวางตัวระหว่างหัวหน้า-ลูกน้อง เป็นต้น

ผมว่าความขัดแย้งความจริงแล้วไม่ใช่เรื่องแย่เสมอไปนะครับ เพราะความขัดเเย้งทำให้เกิดความสร้างสรรค์ มุมมองใหม่ๆ เป็นแรงขับให้ทีมผลิตผลงานออกมาได้สมบูรณ์แบบมากขึ้นหากรู้จักประยุกต์ใช้ ในทางตรงกันข้ามถ้าปล่อยความขัดเเย้งให้สะสมไปเรื่อยๆ ก็อาจบานปลายเป็นการทะเลาะที่รุนแรงได้ แต่โชคดีที่เราสามารถทำอะไรบางอย่างก่อนที่ระเบิดเวลาจะนับถอยหลัง

จากการประสบการณ์ส่วนตัว ผมคิดว่าอุปสรรค์ต่อการปรับเปลี่ยนสถานการณ์ความขัดแย้งมากที่สุดคือ การพูดกับคนในองค์กรกันเองครับ การพูดลับหลังถูกใช้เป็นการระบายอารมณ์ของคนจำนวนมาก หลายครั้งที่เราเห็นคนทำแบบนั้นเพื่อยกตัวเองรู้สึกดี ในขณะที่ได้กดให้คนอื่นต่ำลง ในความเป็นจริงพวกเขาเหล่านี้ไม่กล้าที่จะเผชิญหน้าต่อการสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา สร้างกำแพงหนาขึ้น และเลือกที่จะอยู่ในวงจรการนินทาต่อไป แต่การพูดถึงบุคคลที่สามในทางลบนั้น แก้ปัญหาไม่ได้จริง และยิ่งทำให้การนับถือตัวเองต่ำลง 

ในสมัยกรีกโบราณ โสกราตีส นักปราชญ์เมืองเอเธนส์ ผู้วางรากฐานของปรัชญาตะวันตก ได้ตั้งคำถาม 3 ข้อให้กับคนที่กำลังจะพูดลับหลังเรื่องคนอื่นให้เขาฟัง คือ
1.เรื่องที่คุณจะเอามาเล่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ 

2.เป็นเรื่องดีหรือไม่ และ
3.ก่อให้ประโยชน์รึป่าว 


แม้แต่พระพุทธเจ้าเอง ซึ่งเป็นจอมปราชญ์ทั้งหลาย ก็ยังถูกโลกติเตียนอยู่  ท่านได้ตรัสเป็นพุทธภาษิตไว้ว่า นัตถิ โลเก อนินทิโต แปลใจความว่า คนที่ไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก เราควบคุมการกระทำคนอื่นไม่ได้ แต่เราควบคุมตัวเองได้  ยังมีอีกหลายอย่างที่เราสามารถช่วยให้บรรยากาศในที่ทำงานน่าอยู่ขึ้นได้

คำแนะนำของผมคือ

  • มุ่งความสนใจไปที่ปัญหา ไม่ใช่ตัวบุคคล ดูว่าเป้าหมายของกลุ่มคืออะไร แล้วมุ่งไปในทิศทางนั้น
  • อะไรก็ได้ แต่ไม่มักง่าย การยอมใช้วิธีของเพื่อนร่วมงาน ถ้าคุณพิจารณาแล้วว่ามีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน ก็ไม่มีเหตุผลอะไรต้องมีปัญหา เพราะสิ่งที่เราต้องการร่วมกันคือผลลัพธ์
  • ใช้เสียงส่วนใหญ่ในการตัดสินปัญหา ลดการถืออีโก้เป็นศูนย์กลาง
  • ย้ำถึงบทบาทและหน้าที่ให้ชัดเจน ทุกคนจะโฟกัสงานในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบ และไม่ก้าวก่ายกัน
  • รับฟังและทำความเข้าใจมุมมองของเพื่อนร่วมงานโดยไม่ตัดสิน เราอาจได้ไอเดียใหม่ๆ มาปรับใช้ได้มากขึ้นครับ
  • สร้างโอกาสให้ทุกคนในการแสดงความคิดเห็น ทำความเข้าใจ ยอมรับในความเหมือนและข้อแตกต่าง เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นนะครับ ที่คนเรามีความคิดและความถนัดไม่ซ้ำกัน ซึ่งจะทำให้งานออกมาสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
  • พูดด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล ก็ถือเป็นการให้เกียรติผู้อื่นครับ พูดในสิ่งที่จรรโลงใจ และมีอารมณ์ขันต่อสถานการณ์ มองโลกในแง่บวกเข้าไว้ครับ

หวังว่าคำแนะนำของผมจะเป็นประโยชน์ต่อท่านบ้าง ไม่มากก็น้อยครับ บางครั้งเราเลือกสภาพแวดล้อมไม่ได้ แต่เราเลือกที่จะปฎิบัติกับมันอย่างมีคุณภาพได้ครับ ถ้าคุณเป็นหัวหน้าที่ต้องบริหารจัดการลูกน้องในทีม ลองอ่านบทความนี้ที่ผมเคยพูดถึงการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกน้องครับ

ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :