สถิติ
เปิดเมื่อ2/02/2018
อัพเดท1/05/2018
ผู้เข้าชม125840
แสดงหน้า122297
เมนู
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




หัวหน้าแบบไหนที่ลูกน้องอยากทำงานด้วย: 5 วิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกน้อง

อ่าน 277 | ตอบ 0

หัวหน้าแบบไหนที่ลูกน้องอยากทำงานด้วย: 5 วิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกน้อง

 

การที่เราจะก้าวมาอยู่ในตำแหน่งบริหารงาน หรือเป็นหัวหน้าคน ไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลยนะครับ เพราะงานบริหารนั้นไม่ได้หมายถึงการมีหน้าที่ความรับผิดชอบทางด้านการงานที่เพิ่มขึ้น หรือการตัดสินใจที่ยากขึ้นกว่าก่อน แต่ยังรวมถึงการดูแลสินทรัพย์ที่สำคัญขององค์กร นั่นคือ ทรัพยากรบุคคลหรือคนในทีมของเรานั่นเอง บางคนที่เพิ่งรับตำแหน่งงานบริหารใหม่ๆ มักทุ่มเทพลังทั้งหมดไปที่การสร้างผลงานให้เป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ เพื่อแสดงความสามารถในฐานะผู้นำทีมอย่างเต็มที่ แต่อย่าลืมนะครับว่าการบริหารคนก็สำคัญไม่แพ้กัน และคนในตำแหน่งหัวหน้านี่แหละครับที่จะมีส่วนสำคัญมากทีเดียวต่อบรรยากาศในการทำงานของทีม หนึ่งในเหตุผลที่พนักงานบางคนออกจากงานก็เพราะความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับหัวหน้า หรือไม่ก็เป้าหมายการทำงานไม่ตรงกัน ในฐานะคนบริหารงาน เราเองก็ไม่อยากให้ลูกน้องทยอยออกจากงานเพราะตัวเราใช่ไหมล่ะครับ ลองมาดูกันว่าเราจะเป็นหัวหน้าแบบไหนได้บ้างที่ลูกน้องอยากทำงานด้วย  

  1. ให้ความสำคัญ และเห็นคุณค่า การเห็นคุณค่าของสิ่งที่ลูกน้องทำเป็นการเติมพลังในการทำงานที่ดีเลยครับ มีใครบ้างที่ไม่อยากให้คนอื่นเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ ถ้าเราเห็นว่าลูกน้องทำได้ดี ก็ควรชื่นชมอย่างจริงใจ คำพูดดีๆ ที่แสดงให้เห็นว่าเราเห็นคุณค่าถึงความตั้งใจที่เขาทำ ไม่ว่าเป็นใครก็อยากได้รับครับ 

    นอกจากคำชื่นชมแล้ว การแสดงถึงความใส่ใจในตัวผู้อื่นเล็กๆน้อยๆ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เช่น การทักทาย หรือการจดจำได้ว่าแต่ละคนมีความสนใจด้านใด แล้วถามไถ่ถึงสิ่งเหล่านั้นบ้าง จะทำให้ลูกน้องรู้สึกดีที่เราจดจำความเป็นตัวตนของเขาได้ ผู้นำประเทศบางคนถึงกับจำชื่อของคนในสถานทูตที่มักมาต้อนรับเขา เวลาที่เขาไปเยือนยังประเทศนั้นๆได้ แล้วเข้าไปจับมือทักทาย เพราะเขารู้ว่านั่นจะทำให้คนที่ทำงานอย่างหนักเพื่อเตรียมการรต้อนรับเขารู้สึกดีใจและภูมิใจ

  2. เปิดโอกาสให้เติบโต หัวหน้าที่ดีควรเป็นแรงสนับสนุนให้ลูกน้องได้เติบโตในทางที่เขาสนใจ ลองหาเวลาพูดคุยกับแต่ละคนว่าเขาอยากพัฒนาตัวเองไปในด้านไหน ดูว่าเขาต้องการอะไร แล้วสนับสนุนให้เขาได้ไปตรงจุดนั้น บางคนอยากพัฒนาด้านภาษาเพิ่มเติม เพื่อไปทำงานในตำแหน่งที่ต้องประสานงานกับต่างประเทศในอนาคต เราอาจหาโอกาสให้เขาได้ลองฝึกประสานงานกับแผนกอื่นๆที่เป็นชาวต่างชาติ เพื่อสร้างความมั่นใจในการสื่อสารมากขึ้น หรือจัดคอร์สเรียนภาษาเพื่อพัฒนาทักษะที่มีอยู่เดิม 
  3. ให้อิสระ มีพื้นที่สำหรับความคิดของเขา หากงานใดเป็นความรับผิดชอบของเขา และเขาสามารถทำสิ่งนั้นได้ ควรให้เขาได้แสดงโอกาสรับผิดชอบสิ่งนั้นอย่างเต็มที่ ถ้าหัวหน้าเข้าไปยุ่มย่ามมากจนเกินไป อาจทำให้ลูกน้องรู้สึกว่าเขาไม่ได้รับความไว้วางใจในงานนั้นๆ และอาจหมดกำลังใจไปได้ ยิ่งกับเด็กรุ่นใหม่ไฟแรงที่อยากแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ เรายิ่งควรเปิดโอกาสรับฟังเขาให้มากๆ การรับฟังอย่างตั้งใจจะทำให้เขากล้าที่จะแสดงความคิดเห็นมากขึ้น และมั่นใจในงานมากขึ้น และที่สำคัญ เขารู้สึกว่าความคิดของเขาสำคัญต่อองค์กรและต่องานของแผนก เผลอๆอาจจะสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆให้บริษัทแบบไม่รู้ตัวเลยนะครับ 

    ผมขอยกตัวอย่างที่กูเกิล ที่เขาให้ความสำคัญกับความคิดสร้างสรรค์ของพนักงาน และอยากให้พนักงานได้รู้สึกท้าทายความสามารถของตัวเองอย่างเต็มที่ ผู้บริหารเลยตั้งกฎ 80/20 โดยให้พนักงานใช้เวลา 20% หรือ 1 วันต่อสัปดาห์ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่เพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมโดยไม่จำกัดความคิดผลลัพธ์ที่ได้คือโปรดักส์อย่าง

    Gmail, Google News และ Google AdSense ที่สร้างรายได้กูเกิลมหาศาล แต่ถ้าองค์กรเราไม่ได้เน้นในด้านนวัตกรรมมากมายอย่างกูเกิล เราอาจลองนำกฎ 80/20 นี้ไปปรับใช้ในรูปแบบของเราเองได้นะครับ เราอาจไม่ได้มุ่งไปที่ตัวโปรดักส์ แต่เน้นไปที่การเปิดพื้นที่ให้พนักงานได้แสดงความคิดเห็นอย่างเท่าเทียม อย่าให้เขารู้สึกอึดอัดว่าเสียงของเขาไม่ได้รับการรับฟังใดๆเลย 

  4. ให้ความเท่าเทียม ไม่ควรทำให้คนในทีมรู้สึกว่าหัวหน้าเลือกปฏิบัติ หรือช่วยเหลือใครคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษ หากมีปัญหาหรือความขัดแย้งขึ้นภายในทีม หัวหน้าควรรับฟังจากทุกๆด้านก่อนตัดสินใจใดๆลงไป ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง แต่ใช้เหตุผลมาก่อนอารมณ์และให้โอกาสลูกน้องชี้แจงอย่างรอบด้าน 
  5. คิดก่อนพูด และเรียนรู้ที่จะให้คำวิจารณ์ คำพูดสร้างความเปลี่ยนแปลงได้มากมาย สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้คนรอบข้าง สร้างความประทับใจ หรือทำให้คนไม่อยากผูกมิตรด้วย ดังนั้น คิดให้ดีก่อนที่จะสื่อสารอะไรออกไป และคำนึงถึงผู้ฟังให้มากๆ ว่าเวลาใดเหมาะสมและควรใช้คำพูดแบบใด หากจะตำหนิลูกน้องไม่ควรทำต่อหน้าคนอื่นๆ และต้องหาคำพูดที่ไม่ทำให้ผู้ฟังเสียความรู้สึก ในขณะเดียวกันต้องให้เขาเข้าใจว่าจุดใดที่เขาควรปรับแก้ อาจจะเริ่มที่เอ่ยชมสิ่งที่ลูกน้องทำได้ดีก่อน แล้วชี้แจงว่ามีตรงไหนที่เขาน่าจะทำให้ดีขึ้นได้อีก และด้วยวิธีใด 

    การบริหารคนเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ และต้องหมั่นฝึกฝนอยู่เรื่อยๆ หากเราไม่มีประสบการณ์มาก่อนเลยก็อย่าเพิ่งกังวลใจไปนะครับ ทักษะเหล่านี้ฝึกฝนกันได้ แม้แต่คนที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งบริหารมานานแล้ว ก็ยังคงต้องเรียนรู้ไปไม่มีวันสิ้นสุด ค่อยๆเก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปทีละนิดครับ ต้องอาศัยความตั้งใจและความอดทน แล้วเราจะเป็นผู้บริหารงาน และเป็นผู้นำที่ดีได้แน่นอนครับบทความเเนะนำ การต่อยอดศักยภาพของคุณให้ตรงจุด

ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :